Computer Project
Project
การขัดแย้งทางการเมือง
Unit 1
Rationale
หากพิจารณาอย่างผิวเผินความขัดแย้งนี้ เป็นเรื่อง “บุคคล” ระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรีและผู้สนับสนุน กับฝ่ายต่อต้าน ถ้าวิเคราะห์แนวนี้ เราก็พอจะมองออกว่า เมื่ออดีตนายกรัฐมนตรีและผู้สนับสนุนกับฝ่ายต่อต้าน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลิกราไปไม่ว่าจะด้วยเหตุใด ความขัดแย้งนี้ก็จบ และประเทศไทยก็เดินต่อไปได้ตามปกติ
แต่จุดอ่อนการวิเคราะห์แนวนี้ก็คือ ไม่ได้ดูที่ “ต้นเหตุ” ของการได้มาซึ่งอำนาจการเมืองของผู้มีอำนาจเดิม และการใช้อำนาจ (ซึ่งรวมถึงอำนาจตามกฎหมาย อิทธิพลหรืออำนาจในความเป็นจริงและเงิน) ว่ามีฐานมาจากความขัดแย้งเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและทางสังคมที่ซ่อนตัวอยู่ ความขัดแย้งดังกล่าว มีลักษณะบุคคลของคู่ขัดแย้งอยู่ก็จริง โดยรากฐานสำคัญก็คือความขัดแย้งเชิงโครงสร้างในการจัดสรรทรัพยากรและความมั่งคั่ง ระหว่าง “คนมี”กับ “คนไม่มี” รวมถึงแนวความคิดและความคาดหวังต่อระบอบประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน
นับตั้งแต่ที่ประเทศไทยได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นครั้งแรก เมื่อปี 2504 มีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศโดยเน้นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า (import substitution)ซึ่งต้องอาศัยการพึ่งพาเงินทุนมหาศาลจากต่างประเทศ นโยบาย และกฎหมายต่างๆ ที่ออกในช่วงนี้ก็เป็นไปเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ดังกล่าวทั้งสิ้น เช่น กฎหมายส่งเสริมการลงทุน กฎหมายการนิคมอุตสาหกรรม กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ฯลฯ ต่อมายุทธศาสตร์ก็เปลี่ยนเป็นการผลิตเพื่อส่งออก (export oriented) ในแผน 4 และแผน 5 อย่างไรก็ดี การเกษตรกรรมที่เคยเป็นรายได้หลักของประเทศกลับไม่ได้รับความสำคัญ ดังนั้น การเพิ่มผลผลิตจึงเป็นไปด้วยการขยายพื้นที่ ไม่ใช่ด้วยการเพิ่มผลิตภาพต่อไร่ ทั้งยังไม่มียุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรและเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ
นอกจากไม่มียุทธศาสตร์พัฒนายกเว้นการพยุงราคาเมื่อมีปัญหาแล้ว ในหลายกรณี รัฐก็กลับกระทำการที่เป็นผลเสียต่อเกษตรกรเสียเอง อาทิ การเก็บพรีเมี่ยมข้าวที่ส่งออก ซึ่งส่งผลให้ผู้ส่งออกผลักภาระไปกดราคาซื้อข้าวจากชาวนาให้ตกต่ำลงไป นโยบายส่งเสริมธุรกิจและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพื่อการส่งออก ละเลยธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็ก และไม่ไยดีกับการพัฒนาการเกษตรและเกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้
จากนโยบายดังกล่าว ทำให้เกิดความกระจุกตัวของความมั่งคั่งอย่างมหาศาล ในขณะที่เกิด “คนมั่งมีมหาศาล” และ “คนชั้นกลาง”ที่มีอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด และเข้าถึงทรัพยากรขึ้นในเมือง ก็เกิด “คนจน” ที่เป็นเกษตรกรและอยู่ในชนบทมาก และแม้ว่าประเทศไทยจะมีรายได้ประชาชาติต่อคนเพิ่มขึ้น สัมประสิทธิ์จีนีก็ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ในปี 2505 กลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงที่สุด 20% เป็นเจ้าของรายได้โดยรวมทั้งหมดของประเทศถึง 59% ในขณะที่กลุ่มประชากรที่มีรายได้น้อยที่สุด20%เป็นเจ้าของรายได้โดยรวมทั้งหมดของประเทศเพียง 2.9% ส่วนในปี 2518 อัตราส่วนอยู่ที่ 49.24 % ต่อ 6.05 % และในล่าสุดในปี 2549ที่ผ่านมา อัตราการกระจายรายได้ก็ยังคงความเหลื่อมล้ำอยู่ที่56.29% ต่อ 3.84 %
โครงสร้างที่ไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจในสังคมไทยจึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบการเมืองเช่นกัน กล่าวคือ “คนจน” และเกษตรกรเหล่านี้ไม่มีอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเหมือนคนชั้นกลาง และเข้าไม่ถึงทรัพยากร (ซึ่งในอดีตเคยเข้าถึง แต่ถูกรัฐส่วนกลางรวบอำนาจจัดการแต่ผู้เดียวไว้) คนเหล่านี้จึงต้อง “พึ่งพิง” ผู้มีทรัพยากรในหัวเมือง ภายใต้ระบบอุปถัมภ์แบบไทยเดิม และทำให้คนเหล่านี้เป็น “ผู้มีอิทธิพล” และสามารถได้รับความไว้วางใจเลือกให้เข้ามาทำหน้าที่แทนในฐานะผู้แทนราษฎรในระบอบประชาธิปไตย และก้าวไปสู่อำนาจรัฐที่มากกว่านั้นในฐานะรัฐมนตรี
การที่ระบบเศรษฐกิจไทยก็ยังไม่ใช่ระบบเศรษฐกิจเสรีที่อาศัยกลไกตลาดเต็มที่ และรัฐยังคงครอบครองทรัพยากรสำคัญไว้และให้สัมปทานแก่เอกชน การเข้าสู่อำนาจการเมืองจึงไม่ได้หมายถึงการมี “อำนาจ” เท่านั้น แต่หมายถึง “โอกาส” ทางธุรกิจและเศรษฐกิจที่เกิดจากการมีอำนาจให้สัมปทาน หรืออาจได้รับสัมปทานเสียเอง ซึ่งในหลายกรณีทำให้บุคคลเหล่านี้กลายเป็น “ผู้มั่งมี” ขึ้นได้ในเวลาอันรวดเร็ว การทุจริตและการประพฤติมิชอบในรูปแบบต่างๆก็เกิดขึ้นโดยทั่วไป ทั้งระดับการตัดสินใจของรัฐทางการเมือง ทั้งในระบบการเลือกตั้ง
โครงสร้างที่ไม่เท่าเทียมกันในสังคมและระบบการพึ่งพิงกันแบบอุปถัมภ์ฝังรากลึกอยู่ในระบบการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ.2475 โดยมีลักษณะสำคัญก็คือสภาพที่นักวิชาการเรียกว่า “คนจน” ซึ่งต้องพึ่งพิงการอุปถัมภ์และเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็น “ฐานเสียง” และเป็นผู้ก่อให้เกิดเสียงข้างมากในสภาและรัฐบาล แต่ “คนชั้นกลาง” เป็น “ฐานนโยบาย” เพราะเสียงดังกว่าและมีอำนาจล้มล้างรัฐบาลที่ตนไม่ชอบได้ ในขณะที่ข้าราชการทหารพลเรือนซึ่งเป็นตัวแทนอำนาจรัฐที่แท้จริง ก็ยังคงแย่งชิงอำนาจทางการเมืองกับพรรคการเมืองและผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง
ซึ่งก่อให้เกิดผลสำคัญในระบอบการเมืองไทย คือ ในระยะเวลา 78ปีของระบบรัฐสภา ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรี 27 คน มีคณะรัฐมนตรี 59 ชุด มีรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ มีกบฏ 11 ครั้ง มีการปฏิวัติรัฐประหาร 12 ครั้ง
!!
สำหรับเม็ดเงินภายในประเทศนั้น ซึ่งหากดูจากบัญชีเงินฝากในธนาคาร มีเพียง 70,000 บัญชี ที่มีเงินในแต่ละบัญชีสูงกว่า 10 ล้านบาท และถือเป็นร้อยละ 42 ของจำนวนเงินที่มีอยู่ในระบบทั้งหมด นั่นหมายความว่า ถ้าคนแต่ละคนมีบัญชีธนาคารคนละ 2 บัญชี แสดงว่ามีคนเพียง 35,000 คนเท่านั้น ที่เป็นเจ้าของเงินเกือบครึ่งหนึ่งในประเทศ
Unit 2
Objectives
1.ความขัดแย้งดังกล่าวถูกกระพือให้เป็นความขัดแย้งร้าวลึกระหว่างประชาชน ลุกลามไปทุกที่ ไม่ว่าในครอบครัว ในบรรดาเพื่อนฝูงที่ทำงาน จนแม้ระหว่างคนในภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะคนภาคเหนือและภาคอีสานฝ่ายหนึ่ง กับคนภาคใต้ ถึงขั้นที่มีการตั้งคำถามถึงเอกภาพและบูรณภาพของความเป็นชาติไทยเลยทีเดียว หากไม่สามารถระงับความรู้สึกแตกแยกรุนแรงนี้ ให้ยุติลงได้ในอนาคตอันใกล้ ก็ไม่แน่ว่าอุดมการณ์ความเป็นชาติไทยหนึ่งเดียวจะสั่นคลอนเพียงใด
2. ไม่มีความขัดแย้งครั้งใดที่เกือบทุกสถาบันหลักของประเทศถูกตั้งคำถามถึงความ ชอบธรรม และบทบาทมากที่สุด อย่างในเวลานี้ รัฐบาลพลังประชาชนประชาชนของอดีตนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็ถูกคนเสื้อเหลืองประท้วงยืดเยื้อ รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะก็ถูกคนเสื้อแดงประท้วงไม่เลิก รัฐสภาก็ถูกตั้งฉายาที่แสดงให้เห็นการไม่ยอมรับ องค์กรอิสระก็ถูกท้าทายและไม่ยอมรับ ศาลซึ่งไม่เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์ก็ถูกวิพากษ์อย่างเปิดเผย สถาบันองคมนตรีซึ่งควรอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง ก็เป็นเป้าการโจมตีของคนบางกลุ่ม! วิกฤติความเป็นธรรมนี้บั่นทอนความเชื่อมั่น (Trust) ในสถาบันทั้งหลาย และอาจนำมาซึ่งความล่มสลายของประชาธิปไตยได้หากปล่อยให้ยืดเยื้อ
Unit 3
Processes
โครงสร้างที่ไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจในสังคมไทยจึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบการเมืองเช่นกัน กล่าวคือ “คนจน” และเกษตรกรเหล่านี้ไม่มีอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเหมือนคนชั้นกลาง และเข้าไม่ถึงทรัพยากร (ซึ่งในอดีตเคยเข้าถึง แต่ถูกรัฐส่วนกลางรวบอำนาจจัดการแต่ผู้เดียวไว้) คนเหล่านี้จึงต้อง “พึ่งพิง” ผู้มีทรัพยากรในหัวเมือง ภายใต้ระบบอุปถัมภ์แบบไทยเดิม และทำให้คนเหล่านี้เป็น “ผู้มีอิทธิพล” และสามารถได้รับความไว้วางใจเลือกให้เข้ามาทำหน้าที่แทนในฐานะผู้แทนราษฎรในระบอบประชาธิปไตย และก้าวไปสู่อำนาจรัฐที่มากกว่านั้นในฐานะรัฐมนตรี
Unit 4
Result
แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ไม่ได้ปรับความขัดแย้งเชิงโครงสร้างที่ฝังลึกและซ่อนอยู่อย่างจริงจัง โดยเฉพาะความขัดแย้งที่เกิดมาจากการจัดสรรทรัพยากรของรัฐไทย ซึ่งเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ ตรงกันข้าม กลับทำให้พรรคการเมืองต่างๆ มุ่งแสวงหาประโยชน์จากข้อได้เปรียบในที่อยู่ในตัวรัฐธรรมนูญเอง ในขณะที่ข้อบกพร่องที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญเป็นตัวจุดชนวนความขัดแย้งที่กำลังจะปะทุขึ้น.
Unit 5
Photos
Members of the group.
1. Mr.
2. Mr.
3. Mr.
ครูคร้าาาหนูไม่มีกลุ่มน่ะค่ะ
ตอบลบ